Skip to content
Home » กมธ.กิจการศาลฯ เชิญหลายหน่วยงานชี้แจงการบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กมธ.กิจการศาลฯ เชิญหลายหน่วยงานชี้แจงการบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กมธ.กิจการศาลฯ เชิญหลายหน่วยงานชี้แจงการบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หลังมีพนักงานร้องเรียน ก่อนสั่งพักการพิจารณาไว้ก่อนหลังจากทราบผู้ร้องได้ยื่นฟ้องเป็นคดีคุ้มครองผู้บริโภคต่อศาลจึงให้รอจนกว่าศาลมีคำพิพากษา

นายสัญญา นิลสุพรรณ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ) กิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ได้ประชุมกมธ.ได้พิจารณาเรื่อง “การบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย” ตามที่มีพนักงานร้องเรียน โดยมี ผู้แทนสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ผู้แทนสำนักงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ ผู้แทนพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มาชี้แจง

ทั้งนี้ ที่ประชุมกมธ.ได้รับทราบข้อมูลจาก ผู้ร้องอ้างว่าการกำหนดนโยบายและแนวทางในการบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หลักเกณฑ์การปรับสัดส่วน (Switching) และการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ของการลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศ (EGAT 4) ไม่เป็นธรรม เนื่องจากมีการลดกรอบเวลาการสับเปลี่ยนนโยบาย การเพิ่มจำนวนการปรับเปลี่ยนนโยบาย และลดความห่างระหว่างวันส่งคำสั่งกับวันคำนวณหน่วยเป็นวันเดียวกัน อีกทั้งการละเลยการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ลงทุนที่มีนโยบายการลงทุนระยะยาวซื้อขายถี่เกินไป

นอจากนั้น การกำหนดให้สมาชิกที่ปรับเปลี่ยนนโยบายการลงทุนมูลค่ามากและบ่อย ไม่ต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียมการปรับเปลี่ยนนโยบายเอง แต่ให้สมาชิกทุกคนต้องเฉลี่ยร่วมจ่ายค่าธรรมเนียม ซึ่งเอื้อให้เกิดการลงทุนระยะสั้น ซึ่งขัดกับวัตถุประสงค์การออมระยะยาวของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเพิ่มต้นทุนโดยรวมของกองทุน ส่งผลให้สมาชิกจำนวนมากต้องเสียหายจากการออมเพื่อต้องการลงทุนระยะยาวและมีมูลค่าความเสียหายจำนวนหลายร้อยล้านบาท

ทั้งนี้ ผู้แทนสำนักงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ชี้แจงว่า การบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุนเป็นไปภายใต้หลักธรรมาภิบาลและพ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 อีกทั้ง การคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ของ EGAT4 เป็นไปตามประกาศสมาคมบริษัทจัดการลงทุนที่ สจก.กช.3/2545 ซึ่งการปรับเปลี่ยนนโยบายการลงทุนของสมาชิกทุกคนอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนด ดังนั้นจึงไม่สามารถระบุได้ว่าใครเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้กระทำความผิด นอกจากนี้ ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องเป็นคดีคุ้มครองผู้บริโภคต่อศาลแล้ว

นายสัญญา กล่าวว่า ในที่ประชุมผู้แทนสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ชี้แจงว่า บทบาทของ ก.ล.ต. ในประเด็นที่พิจารณา เป็นไปตามกฎหมาย 2 ฉบับ คือ (1) พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ในฐานะนายทะเบียน PVD ซึ่งจะรับจดทะเบียนจัดตั้งกองทุนและการแก้ไขข้อบังคับกองทุน และมีอำนาจสั่งให้ผู้จัดการกองทุนชี้แจงข้อเท็จจริงและทำรายงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนได้ และ (2) พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งอยู่ในฐานะผู้กำกับดูแลตัวกลางในการพิจารณาให้ใบอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (การจัดการกองทุนส่วนบุคคล) และกำกับดูแลและพัฒนาธุรกิจการจัดการกองทุนส่วนบุคคล โดยส่งเสริมให้มีการออมเงินระยะยาว

ประธานคณะกมธ.ฯ กล่าวว่า กมธ.ได้รับฟังการชี้แจงจากผู้แทนทุกฝ่ายแล้วทราบว่าเรื่องนี้ผู้ร้องเรียนได้ยื่นฟ้องเป็นคดีคุ้มครองผู้บริโภคต่อศาลแล้ว จึงเห็นควรพักการพิจารณาเรื่องไว้ก่อน จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า