Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the happy-elementor-addons domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/vhosts/unitedthaination.or.th/httpdocs/wp-includes/functions.php on line 6114

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the neve domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 6.7.0.) in /var/www/vhosts/unitedthaination.or.th/httpdocs/wp-includes/functions.php on line 6114
‘รมช.อนุชา’ ลุยสุโขทัย ผลักดันตำบลนาขุนไกรเป็นโมเดลต้นแบบ - พรรครวมไทยสร้างชาติ
Skip to content
Home » ‘รมช.อนุชา’ ลุยสุโขทัย ผลักดันตำบลนาขุนไกรเป็นโมเดลต้นแบบ

‘รมช.อนุชา’ ลุยสุโขทัย ผลักดันตำบลนาขุนไกรเป็นโมเดลต้นแบบ

‘รมช.อนุชา’ ลุยสุโขทัย ผลักดันตำบลนาขุนไกรเป็นโมเดลต้นแบบโครงการ Zoning by Agri Map ปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสม มาปลูกพืชทางเลือก(หญ้าเลี้ยงสัตว์) สร้างรายได้ให้เกษตรกร

นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริการจัดการเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) และพบปะกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงวัว โดยมี นางสาวอนงค์นาถ จ่าแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอนุชา นาคาศัย) คณะผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ แปลงของนายยุทธนา ทัยบุตร หมู่ที่ 4 บ้านเขาดินไพรวัลย์ ต.นาขุนไกร อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขับเคลื่อนโครงการสำคัญ คือ Zoning by Agri-Map เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตในพื้นที่ปลูกข้าวที่เหมาะสมน้อย (S3) หรือไม่เหมาะสม (N) ไปปลูกพืชทางเลือก(หญ้าเลี้ยงสัตว์) ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง

นายอนุชา กล่าวต่อว่า โดย อ.ศรีสำโรง มีพื้นที่ทําการเกษตรที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว (S1, S2) 197,202 ไร่ เหมาะสมเล็กน้อย (S3) และไม่เหมาะสม (N) 122,578 ไร่ สภาพพื้นที่แห้งแล้ง ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเดิมเกษตรกรปลูกข้าวในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ใช้ต้นทุนสูง ผลผลิตน้อย และประสบปัญหาภัยแล้งเป็นประจำ มีน้ำไม่เพียงพอกับภาคเกษตร อุปโภค และบริโภค ซึ่งจากผลการดำเนินงานในพื้นที่ที่ผ่านมา เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความพึงพอใจมาก เนื่องจากได้ปรับปรุงโครงสร้างพื้นที่ สามารถกักเก็บน้ำมีแหล่งน้ำในช่วงหน้าแล้งหรือทำเกษตรผสมผสาน ได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เกิดรายได้เสริม และลดค่าอาหารในครัวเรือนได้ ส่งผลให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ จะสนับสนุนให้ ต.นาขุนไกร เป็นโมเดลต้นแบบ ของจังหวัดสุโขทัยต่อไป

“เกษตรกรไทยส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ซึ่งการเปลี่ยนอาชีพมาเลี้ยงโคคณิตศาสตร์ เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สร้างรายได้ ใช้เวลาเพียง 3 ปี ก็สามารถคืนทุนได้ ผมจึงอยากเห็นพี่น้องเกษตรกรไทย ซึ่งเป็นกำลังซื้อส่วนใหญ่ของประเทศสร้างเงิน สร้างรายได้ จาก “เงินบาทแรกของแผ่นดิน” เพื่อหลุดพ้นจากความยากจน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของกระทรวงเกษตรฯ ที่จะต้องหาแนวทางทำอย่างไรให้เกษตรกรไทยปรับเปลี่ยน ให้ลูกหลานเกษตรกรไทยมีรายได้อย่างยั่งยืน” รมช.อนุชา กล่าว

นายอนุชา บอกด้วยว่า สำหรับแปลงของนายยุทธนา ทัยบุตร เดิมพื้นที่ปลูกข้าว ทั้งหมด 11 ไร่ พื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าว (N) ซึ่งเป็นการทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว มีรายได้ปีละครั้ง พื้นที่มีปัญหาขาดแคลนน้ํา ปลูกข้าวไม่ได้ผลผลิต

ต่อมาสถานีพัฒนาที่ดินสุโขทัยได้ให้คำแนะนำการเข้าร่วมโครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Zoning by Agri-map) ปรับเปลี่ยนจากปลูกข้าวเป็นพืชทางเลือก (หญ้าเลี้ยงสัตว์) โดยปัจจุบัน เลี้ยงวัว จํานวน 50 ตัว มีการใช้ประโยชน์ที่ดิน แบ่งเป็น 1. ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ จํานวน 7 ไร่ (หญ้าแพงโกล่า) 2. ที่อยู่อาศัย และสระน้ํา จํานวน 2 ไร่ 3. คอกวัว จํานวน 2 ไร่ (50 ตัว)

จากการเข้าโครงการฯ ทำให้มีรายได้จากการขายหญ้าแพงโกล่า ไร่ละ 4,000 บาท โดย 1 ปี ขายได้ 3 รอบ เป็นเงิน 12,000 บาท (ขาย 3 ไร่ เป็นเงิน 36,000 บาท/ปี) โดยกรมพัฒนาที่ดินได้เข้าดําเนินการโครงการก่อสร้างแหล่งน้ําในไร่นานอกเขตชลประทาน ขนาด 1,260 ลบ.ม. จํานวน 2 บ่อ จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ําโดยการปรับพื้นที่แบบมีคูน้ําความยาว 120 เมตร เพื่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อปศุสัตว์อีกทางหนึ่ง

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า