Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the neve domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 6.7.0.) in /var/www/vhosts/unitedthaination.or.th/httpdocs/wp-includes/functions.php on line 6114
“อนุชา บูรพชัยศรี” เสนอให้ตั้งกมธ.วิสามัญฯแก้ปัญหาหนี้สินครัวเรือน - พรรครวมไทยสร้างชาติ
Skip to content
Home » “อนุชา บูรพชัยศรี” เสนอให้ตั้งกมธ.วิสามัญฯแก้ปัญหาหนี้สินครัวเรือน

“อนุชา บูรพชัยศรี” เสนอให้ตั้งกมธ.วิสามัญฯแก้ปัญหาหนี้สินครัวเรือน

อนุชา บูรพชัยศรี” สส.รวมไทยสร้างชาติ เสนอญัตติให้สภาฯตั้งกมธ.วิสามัญฯแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน เพื่อหาทางออกร่วมกันลดความเดือดร้อนของประชาชน

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ที่รัฐสภา นายอนุชา บูรพชัยศรี สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) อภิปรายเสนอต่อสภาฯ ให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน ว่า เนื่องจากในปัจจุบันประชาชนมีรายได้ อาจจะไม่เพียงพอกับรายจ่ายและมีหนี้ ในปัจจุบันหนี้ครัวเรือนของไทยมีการขยายตัว คาดการณ์ว่ายอดหนี้อาจจะมีการพุ่งสูงขึ้นในปี 2566 -2567 ยังมีปัจจัยอื่นอีก เช่น สงครามที่เกิดขึ้นในหลายภูมิภาค การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางจากประเทศต่างๆ รวมถึงภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น ทำให้ประชาชนมีค่าครองชีพที่มีแนวโน้มสูงขึ้นกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชน จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนจะต้องตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหา

นายอนุชา กล่าวว่า ในปัจจุบันหนี้ครัวเรือนส่งผลให้เศรษฐกิจภายในประเทศไม่เติบโตเท่าที่ควร เนื่องจากครัวเรือนต้องนำรายได้ไปชำระหนี้ ทำให้จำกัดกำลังซื้อของผู้บริโภคการจับจ่ายใช้สอยไม่เป็นไปตามที่คาดเอาไว้ อาจจะส่งผลกระทบต่อระบบการเงินการคลังของประเทศ ในปัจจุบันหนี้ครัวเรือนของไทยมีการเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและก็สูงเป็นอันดับต้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น

“หนี้ครัวเรือนในปัจจุบันของไทยติดอันดับท็อปทเวนตี้ของโลกในปี 2023 ไทยอยู่อันดับที่ 8 ของโลก เป็นรองแค่เพียงสวิตเซอร์แลนด์ออสเตรเลีย แคนาดา เกาหลีใต้ ฮ่องกง นิวซีแลนด์ และเนเธอร์แลนด์ ในส่วนของเอเชียเราอยู่ในอันดับ 3 รองจาก เกาหลีใต้ ฮ่องกง และเข้ามาประเทศไทย ฉะนั้นสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทยน่ากังวลเนื่องจาก หนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่ของไทยเป็นสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ กู้มาแล้วประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้นำไปใช้ให้เกิดดอก ส่วนใหญ่เป็นหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ใช้แล้วหมดไปไม่ช่วยสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้น แต่ดอกเบี้ยค่อนข้างสูงทำให้มีภาระ ผ่อนต่อเดือนสูง จะแตกต่างจากประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาแล้ว แม้จะมีสัดส่วนยอดหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่สูง แต่ส่วนใหญ่เป็นหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยสา มารถจะไปสร้างรายได้ หรือสร้างความมั่นคงได้ โดยการนำไปขายในอนาคต หรือการนำไปให้เช่า ”นายอนุชากล่าว

นายอนุชา กล่าวว่า ประการที่สอง ปัญหาก็คือเรื่องของหนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มผู้กู้ที่มีปัญหาด้านความในการชำระหนี้ ปัจจุบันคนไทยกว่า 6 ล้านคน กำลังมีหนี้เสียหรือว่าเอ็นพีแอลส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อส่วนบุคคล โดยเฉพาะกลุ่มวัยเริ่มทำงานตั้งแต่อายุประมาณ 20 -35 ปี มีสัดส่วนการใช้สินเชื่อที่อาจจะไม่ก่อให้เกิดรายได้เป็นสัดส่วนที่สูงที่สุด และมีสัดส่วนผู้กู้ที่มีหนี้เสียเสียสูงที่สุดถึงเกือบ 25 ส่วนกลุ่มเกษตรกรหรือกลุ่มผู้มีรายได้น้อยจะเป็นกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงพอสมควรดังนั้นเหตุผลทั้งสองประการนี้ต้องมีการแก้ปัญหา เพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลามไปสู่ปัญหาอื่นๆ ทั้งปัญหาสุขภาพจิตของลูกหนี้ ปัญหาสังคมที่อาจจะเกิดจากถูกกดดันจากภาระหนี้ต่างๆ อาจจะก่อปัญหาอาชญากรรมได้ในอนาคต ทำให้คนในสังคมอาจจะไม่ปลอดภัยตามไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้จะยิ่งรุนแรงขึ้นเมื่อไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพจะต้องสูงขึ้น สวนทางกับรายได้ของครัวเรือนที่ต้องลดลง ข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในปัจจุบันะบว่า หนี้สินของประเทศไทยมีมูลค่าประมาณเกือบ 16 ล้านล้านบาท ถ้าคิดเป็นสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อจีดีพีจะอยู่ที่ 90.6% และหากพิจารณาการก่อหนี้ครัวเรือนรายวัตถุประสงค์จะพบว่าครัวเรือนมีการก่อหนี้เพื่ออสังหาริมทรัพย์และอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นส่วนความสามารถในการชำระหนี้ครัวเรือนภาพรวมกลดลง โดยหนี้เอ็นพีแอลในปัจจุบันมีมูลค่าถึง 1.44 แสนล้านบาท หรือมีสัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2.68%

นายอนุชา กล่าวด้วยว่า มีการกู้ไปซื้ออสังหาริมทรัพย์อยู่ที่ประมาณ 33.5% ไปซื้อยานยนต์อยู่ที่ 11.3% ไปประกอบธุรกิจ 18.2% เป็นสินเชื่อบุคคล 19% เป็นสินเชื่อบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน 4.9% เป็นสินเชื่อบัตรเครดิต 2.8% แล้วก็เป็นสินเชื่ออื่นๆ อีกประมาณ 10% มีข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่า หนี้สินของกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จำนวน 483,000 ล้านบาท จากการเคหะแห่งชาติอีกประมาณ 11,000 ล้านบาท จากพิโกไฟแนนซ์ อีก 6,000 ล้าน สหกรณ์อื่นๆที่นอกเหนือจากสหกรณ์ออมทรัพย์อีกประมาณ 265,000 ล้านบาท

นายอนุชา กล่าวว่า รัฐบาลชุดที่แล้วได้ดำเนินการแปลงหนี้ออกเป็น 8 กลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นหนี้กยศ.มีการออกกฎหมายไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน มีการลดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ มีการไกล่เกลี่ย การปรับโครงสร้างหนี้ของประเทศให้เป็นวาระของชาติ มีการแก้ไขปัญหาหนี้เช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์ หนี้ข้าราชการโดยเฉพาะข้าราชการครู ตำรวจมีการปรับลดและทบทวนโครงสร้างและเพดานอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการออก มาตรการคุ้มครองสิทธิของลูกหนี้ มีการแก้ไขปัญหาหนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล รวมถึงการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนรายย่อย รวมถึงเอสเอ็มอีและสุดท้ายคือการปรับปรุงขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้เอื้อแก่การแก้ไขปัญหาหนี้

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รัฐบาลปัจจุบันในภายใต้ของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มีนโยบายเร่งด่วน เช่น การพักหนี้เกษตรกร ในส่วนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) หรือธนาคารออมสินเข้ามาดูแล นอกจากนั้นเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้กับประชาชน การตรึงราคาก๊าซหุงต้มต่างๆ มาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า และจะมีมาตรการช่วยเหลืออื่นๆอีกมากมาย

นอกจากนั้น ประชาชนต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของการจัดการหนี้สิน การสร้างความตระหนักรู้ทางการเงิน สิ่งที่อภิปรายมาทั้งหมดนี้ต้องบอกว่ามีหลายส่วนที่ดำเนินการไปแล้ว ในรัฐบาลชุดที่แล้ว รัฐบาลชุดปัจจุบันก็กำลังออกมาตรการต่างๆ เพื่อมาช่วยเหลือหนี้สินของพี่น้องประชาชน แต่ก็ต้องมีการพิจารณาข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน การที่จะมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อศึกษาแก้ไขปัญหาที่สินจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ในปัจจุบันมีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ ตนยินดีหากจะนำญัตตินี้เข้าไปให้ทางด้านคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติได้พิจารณา เพื่อลดค่าใช้จ่ายของสภา และหวังว่าญัตติของตนจะเป็นการเริ่มต้นในการที่ทำให้สภาแห่งนี้ได้มีโอกาสได้นำเสนอ ได้พิจารณา ได้ศึกษาสิ่งที่จะส่งให้กับทางรัฐบาลเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนต่อไป

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า