Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the happy-elementor-addons domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/vhosts/unitedthaination.or.th/httpdocs/wp-includes/functions.php on line 6114

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the neve domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 6.7.0.) in /var/www/vhosts/unitedthaination.or.th/httpdocs/wp-includes/functions.php on line 6114
“พีระพันธุ์” เร่งช่วยร้านขายยารอดเจ๊ง! หลังกระทรวงสาธารณสุขบังคับใช้กฎหมายทุกร้านต้องมีเภสัชกร - พรรครวมไทยสร้างชาติ
Skip to content
Home » “พีระพันธุ์” เร่งช่วยร้านขายยารอดเจ๊ง! หลังกระทรวงสาธารณสุขบังคับใช้กฎหมายทุกร้านต้องมีเภสัชกร

“พีระพันธุ์” เร่งช่วยร้านขายยารอดเจ๊ง! หลังกระทรวงสาธารณสุขบังคับใช้กฎหมายทุกร้านต้องมีเภสัชกร

พีระพันธุ์” เร่งหาแนวทางช่วยเหลือร้านขายยา หลังกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) บังคับใช้กฎหมายทุกร้านต้องมีเภสัชกรประจำร้าน ขณะที่ผลิตบุคลากรไม่ทัน กระทบกิจการร้านขายยาขนาดเล็กต้องปิดกิจการ เตรียมนัดหารือปลัด สธ.รอบใหม่ เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ประกอบการอย่างจริงจัง

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยความเป็นธรรมและเร่งรัดการปฏิบัติราชการ ตามคำสั่งของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุมเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงจากการร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาเภสัชกรประจำร้านขายยา โดยมีเรื่องร้องเรียนขอความเป็นธรรมจากร้านขายยา กรณีการยกเลิกการผ่อนผันตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการกำหนดเกี่ยวกับสถานที่ อุปกรณ์ และวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชนในสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน ตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ. 2557  ที่กำหนดว่าร้านขายยาจะต้องมีเภสัชกรอยู่ประจำร้าน โดยเริ่มบังคับใช้อย่างเข้มงวดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ผ่านมา แต่เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยยังขาดแคลนเภสัชกรจำนวนมาก ทำให้ผู้ประกอบการร้านขายยาซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่สามารถดำเนินการได้ตามระเบียบดังกล่าว จนต้องปิดกิจการไปจำนวนมาก จึงต้องการให้รัฐบาลหาแนวทางแก้ไข เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ทั้งนี้ คณะกรรมการอำนวยความเป็นธรรมฯ ได้ทำหนังสือเชิญปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือตัวแทนที่เกี่ยวข้องในประเด็นปัญหานี้มาร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อหาแนวทางแก้ไขและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน แต่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้เนื่องจาก ปลัด สธ. มอบหมายให้นิติกรกรมธุรกิจบริการ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ร้องเรียน และไม่มีอำนาจในการดำเนินการด้านนโยบายเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา โดยจะทำหนังสือเชิญปลัดสธ.และผู้เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง เพื่อหารือรอบใหม่เร็วๆ นี้ เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวอย่างจริงจัง

นายพีระพันธุ์ ได้ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมว่า ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ประกอบการร้านขายยาที่มีกว่า 20,000 ร้านว่า จากกรณีที่กฎหมายกำหนดว่าต้องมีเภสัชกรประจำร้าน เพื่อดูแลเรื่องการจำหน่ายยาให้แก่ประชาชนนั้น ถือว่าเป็นหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง เพื่อให้ความปลอดภัยและมั่นใจต่อประชาชน แต่เนื่องจากปัจจุบันยังไม่สามารถผลิตเภสัชกรให้ได้มากเพียงพอต่อการปฏิบัติงานจริงในร้านขายยาได้ตามกฎหมาย จนทำให้ผู้ประกอบการร้านขายยาที่เคยประกอบอาชีพถูกต้องตามกฎหมายมาก่อน กลายเป็นผู้กระทำผิดอาญาไปทันที ทั้งๆ ที่ทำมาหากินเพื่อเลี้ยงชีพตามปกติแบบสุจริต แต่กลับต้องถูกฟ้อง ถูกแจ้งความดำเนินคดี จึงเห็นว่ากระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นต้นทางควรลงมาศึกษาหาวิธีแก้ไขเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง

“ขณะนี้สิ่งที่ผมมองเห็นแนวทางแก้ปัญหาคือ จะต้องกำหนดหน้าที่เป้าหมายให้ชัดเจนว่า เภสัชกรในร้านขายยามีหน้าที่อะไร หากเพียงแค่เพื่อจัดหมวดหมู่ยา ให้คำแนะนำการใช้ยาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยไม่จำเป็นต้องผลิตยาหรือใช้ทักษะชั้นสูง ก็เห็นว่าไม่จำเป็นที่จะต้องจบเภสัชกรระดับปริญญา โดยอาจจะใช้วิธีการอบรมภาคปฏิบัติ หรือให้เจ้าของร้านขายยามารับการอบรมและรับประกาศนียบัตรจากกระทรวงสาธารณสุข หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความมั่นใจ ก็เชื่อว่าน่าจะทำได้ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนเภสัชกร เพื่อได้บรรลุจุดประสงค์ของทั้งสองฝ่าย เปรียบให้เห็นตัวอย่างง่ายๆ เช่นเดียวกับร้านทองมีตำรวจเฝ้าร้าน จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องให้ตำรวจระดับนายพลมานั่งเฝ้าร้าน” นายพีระพันธุ์ กล่าว

นายพีระพันธุ์ กล่าวต่อว่า เรื่องนี้ผู้ประกอบการร้านขายยาร้องเรียนมานานแล้ว แต่ไม่ได้รับการแก้ไข ตนคิดว่าเป็นเรื่องแปลก ที่ผ่านมา 7-8 ปี มีแต่การผ่อนผันที่กระทรวงสาธารณสุขอ้างว่าได้ช่วยเหลือแล้ว แต่เป็นเพียงการผ่อนผันไม่ใช่การแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ดังนั้นถึงเวลาที่ควรจะมีการแก้ไขเรื่องนี้ให้ยั่งยืน ทั้งนี้ 7-8 ปีที่ผ่านมา เภสัชกรก็ยังมีไม่เพียงพอ แต่พอถึงเวลาหนึ่งก็กลับมาจับผู้ประกอบการ และถ้าหากต่อไปร้านขายยาลดจำนวนลงก็จะกลายเป็นปัญหาอีก

“ผมคิดว่าเรื่องนี้ทำให้ผู้ประกอบการเป็นผู้กระทำผิดที่ไม่เป็นเรื่อง ทำมาหากินอยู่ดีๆ ก็กลายเป็นผู้กระทำผิด ทำไมไม่หาทางแก้เพื่อให้ได้ประโยชน์ทั้งสองทาง ไม่ใช่มาบอกว่าก็กฎหมายเป็นแบบนี้ แล้วทำไมไม่แก้กฎหมาย ปรับปรุงแนววิธีการปฏิบัติ ไม่ใช่ทำให้ผู้ประกอบการหรือประชาชน เป็นผู้ต้องหาตลอดเวลา ผมคิดว่าการดูแลบ้านเมืองตอนนี้ ต้องใช้หลักรัฐศาสตร์เข้ามาผสม ไม่ใช่เอะอะก็ใช้กฎหมาย ผมว่าทำงานแบบนี้ใช้ไม่ได้ ซึ่งก็ต้องเชิญกระทรวงสาธารณสุขมาร่วมพูดคุยหาแนวทาง วันนี้เชิญมาก็ไม่มา ผมเชิญท่านปลัดฯมา เพื่อหารือเรื่องนโยบายในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ แต่ได้มอบหมายให้นิติกรมา ซึ่งเป็นนิติกรคนละหน่วยงานที่ดูแล” นายพีระพันธุ์กล่าว

#รวมไทยสร้างชาติ
#สู้ให้ทุกปัญหาพึ่งพาได้ทุกเรื่อง
#สร้างสังคมเท่าเทียม
#ทีมพีระพันธุ์

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า