แก้ปัญหาหนี้สินและเครดิตผู้กู้
- แก้ปัญหา “หนี้กองทุนหมู่บ้าน” “หนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)” “หนี้ครัวเรือน” และ ”หนี้รายย่อยอื่นๆ” ที่เข้าข่ายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ด้วยการ
- “แช่แข็งหนี้” สูงสุดสามปี ตามเงื่อนไขโครงการ เพื่อให้ลูกหนี้ฟื้นตัวสามารถกลับมาใช้หนี้ได้
- “ปลดหนี้ด้วยงาน” ลูกหนี้สามารถชำระหนี้กองทุนหมู่บ้านด้วยการทำงานตามนโยบายเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG) รวมทั้งหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา และหนี้ภาครัฐอื่นๆ ที่สามารถชำระหนี้ได้ด้วยการนำความรู้และแรงงานมาทำงานชดเชยให้รัฐและทำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะแทนการชำระหนี้ด้วยเงิน
- รื้อ “กฎหมายเครดิตบูโร” ที่ไม่เป็นธรรมกับลูกหนี้ เพื่อปลดพันธนาการชีวิตและให้ความเป็นธรรมแก่ลูกหนี้
- รื้อ “กฎหมายล้มละลาย” ขยายโอกาส “ฟื้นฟูกิจการขนาดเล็ก” ที่มียอดหนี้ตั้งแต่หนึ่งล้านบาทได้
- “แก้หนี้ รหัส 21” ออกกฎหมายให้รัฐมีอำนาจแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เกิดจากปัญหาโควิด–19 (รหัส 21) ที่สถาบันการเงินเจ้าหนี้ไม่สามารถแก้ไขได้ภายใน 1 ปี โดยลูกหนี้จะได้รับคุ้มครองด้วยการห้ามยึดบ้าน รถ และเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ทำมาหากิน
- “คลายทุกข์หนี้สหกรณ์” ใช้หุ้นสหกรณ์ออมทรัพย์ชำระหนี้ได้และใช้กู้ยืมเงินข้ามสหกรณ์ได้