Skip to content

โครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์

  • สานต่อการพัฒนารถไฟทางคู่ให้ครบทุกเส้นทาง และพัฒนาระบบเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าในภูมิภาค
  • เร่งพัฒนารถไฟความเร็วสูง กทม.-หนองคาย และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ให้เปิดบริการได้ตามเป้าหมาย
  • พัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และดอนเมือง เป็น Smart Airport และพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินให้สามารถเปิดบริการได้ตามเป้าหมาย
  • สานต่อการพัฒนาขยายขีดความสามารถของท่าเรือแหลมฉบัง และพัฒนาให้เป็น Smart Sea Port
  • ปรับโครงสร้างการผลิตและจำหน่าย โครงสร้างราคาของอุตสาหกรรมไฟฟ้า เพื่อสร้างการแข่งขันสร้างประสิทธิภาพของต้นทุนการผลิตไฟฟ้า
  • เร่งพัฒนาระบบประปาในภูมิภาค โดยเฉพาะระบบประปา และระบบน้ำสะอาดในชุมชน และการลดน้ำสูญเสียในระบบประปาของเมืองใหญ่
  • ต่อยอดโครงสร้างการคมนาคมให้ครอบคลุมทุกภาคและขยายต่อลงไปในระดับตำบลและหมู่บ้าน ใช้เงินงบประมาณประจำปีตามปกติของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
  • ต่อยอดโครงการรถไฟรางคู่ มอร์เตอร์เวย์ และระบบขนส่งมวลชน ใช้เงินงบประมาณประจำปีตามปกติของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
  • จัดตั้ง “กองทุนขนส่งมวลชนและขนส่งสาธารณะ” ในรูปแบบกองทุนรวม วงเงินประมาณ50,000 ล้านบาท ให้ประชาชนมีส่วนเป็นเจ้าของระบบขนส่งมวลชนและแท๊กซี่ไฟฟ้าในโครงการ “แท๊กซี่เพื่อสังคม” เพื่อคืนกำไรให้ประชาชนและให้ประชาชนมีอำนาจในการกำหนดราคาค่าบริการและระเบียบหลักเกณฑ์ขนส่งมวลสาธารณะได้เอง ทั้งนี้ มิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินดำเนินโครงการ แต่เป็นการขายหน่วยลงทุนให้ประชาชนถือหน่วยลงทุนของกองทุน ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการออมให้ประชาชนด้วย
  • โครงการ “แท๊กซี่เพื่อสังคม” 10,000 คัน ใช้รถยนต์ไฟฟ้า EV เพื่อลดมลภาวะทางอากาศ อัตราค่าเช่ารถถูกไม่เกินวันละ 350 บาท ในรูปแบบ “รถใครรถมันวิ่งได้ทั้งวันไม่มีกะ” มีรายได้เหลือพอค่าใช้จ่ายและดูแลครอบครัว รับผิดชอบต่อสังคมและผู้โดยสาร เรียกรถผ่าน application ของโครงการ ราคาถูกกว่า ไม่ปฏิเสธการรับผู้โดยสาร “โบกทุกคัน ได้ไปทุกคน” เป็นการใช้เงินจาก “กองทุนขนส่งมวลชนและขนส่งสาธารณะ” ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการ ไม่ใช้งบประมาณแผ่นดิน