Skip to content

การศึกษา

  • ปรับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาทุกระดับให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก
  • ส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ คุณธรรม จริยธรรมรูปแบบใหม่
  • ดึงภาคเอกชนร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการสร้างนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ใช้กลไกกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเพื่อสร้างโอกาสในการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน
  • ปรับระบบกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาให้มีความยืดหยุ่นตามรายได้และอาชีพของผู้กู้
  • ขยายโอกาสการศึกษา “อยากเรียนอะไรต้องได้เรียน” เปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้เรียนในโรงเรียนที่อยากเรียนและในสาขาวิชาที่อยากเรียนในระดับมหาวิทยาลัยขึ้นอยู่กับความสามารถของเด็กมิใช่เส้นสายของผู้ปกครอง ตัดระบบแป๊ะเจี๊ยะและเปิดโอกาสให้เด็กไทยจำนวนมากมีโอกาสทางการศึกษาได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ทั้งนี้ มิได้ใช้เงินงบประมาณเพิ่มเติมพิเศษ
  • ปรับหลักสูตรการศึกษาเน้นทักษะและความรู้ที่นำไปใช้ได้ในชีวิตจริง โดยเฉพาะด้านคอมพิวเตอร์ และภาษาต่างประเทศอย่างน้อยอีก 1 ภาษา ทั้งนี้ มิได้ใช้เงินงบประมาณเพิ่มเติมพิเศษ
  • “เรียนจบมีงานทำ” ส่งเสริมการเรียนด้านอาชีวะ โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและหลักสูตรการศีกษาให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานเพื่อสามารถเข้าสู่การทำงานได้ทันทีเมื่อเรียนจบ ฝึกงานระหว่างเรียนมีเงินเดือน ทั้งนี้ มิได้ใช้เงินงบประมาณเพิ่มเติมพิเศษ
  • โครงการ 1 อำเภอ 100 ทุนการศึกษา ในโรงเรียนของรัฐ ด้านอาชีวะและสาขาการศึกษาที่ตลาดต้องการทุนละ 10,000 บาทต่อปี จนจบหลักสูตรการศึกษา