ภาคการเกษตร
- ร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตด้านการเกษตร เครื่องจักรกลการเกษตร ระบบดิจิทัล และช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตร
- ใช้มหาวิทยาลัย และ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องวิจัยของภาครัฐในการปรับปรุงพันธุ์ วิธีการเพาะปลูก การแปรรูปเป็นสารสกัด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
- จัดทำระบบ zoning การปลูกพืช พื้นที่ใดไม่มีความเหมาะสมในการทำการเกษตรที่คุ้มค่า จะร่วมมือ กับ เกษตรกรในการส่งเสริมการปลูกพืชประเภทอื่นที่เหมาะสมที่คุ้มค่าแทน ซึ่งอาจรวมถึงการปลูกป่า และ นำคาร์บอนเครดิต ขายเป็นรายได้
- ใช้กลไกกองทุน หมู่บ้าน ในการพัฒนาเกษตร แบบ BCG รวมทั้ง ปศุสัตว์ ที่มีความเหมาะสม และ หากประสบผลสำเร็จ ก็ให้มีการจัดตั้งกองทุนร่วมรัฐ ประชาชน ร่วมสนับสนุนทางการเงินได้อีกด้วย
- พัฒนาระบบบริหาร จัดการน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ที่มีประสิทธิภาพ และ คุ้มค่ากับเงินงบประมาณที่ใช้
- โครงการ “เกษตรร่ำรวย” รัฐให้องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตรสมัยใหม่ และให้การสนับสนุน (ไม่มีค่าใช้จ่ายโครงการ)
- “สุดยอดสายพันธุ์” รัฐสนันสนุนการจัดหาสุดยอดสายพันธุ์พืชและสัตว์ ที่ให้ผลผลิตหรือผล ตอบแทนสูงแก่เกษตรกร ส่งเสริมต่อยอดโครงการโค 1 ล้านครอบครัว
- “แหล่งน้ำชุมชนและหมู่บ้าน” สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่คู่ขนานแม่น้ำสายหลัก ปิง วัง ยม น่าน ขุดแก้มลิง และขุดบ่อน้ำหมู่บ้านเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ช่วงหน้าแล้ง โดยให้ อบต. เป็นแม่งานหลักในการจัดอุปกรณ์เครื่องมือให้แต่ละหมู่บ้านทำการขุดเอง เป็นการสร้างงานให้คนในหมู่บ้าน เป็นการเปลี่ยนแปลงแผนงานและโครงการตามงบประมาณประจำปีตามปกติของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยไม่ได้ใช้งบประมาณเพิ่มเติมจากงบประมาณประจำปีตามปกติแต่อย่างใด
- “ปุ๋ยถูก” ผลิตปุ๋ยในประเทศเพื่อช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกร
- “น้ำมันถูก” ยกเว้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันที่ใช้ในการเกษตรเพื่อลดต้นทุนเกษตรกร เหมือนน้ำมันเขียวของชาวประมง
- “ไฟฟ้าถูก” ปรับลดราคาค่าใช้ไฟฟ้าให้เกษตรกรเพื่อลดต้นทุนการผลิตเหลือหน่วยละ 3.90 บาท โดยประมาณ
- “ดอกเบี้ยต่ำ” ปรับรูปแบบการทำงานของ ธกส. ให้เป็นหน่วยสนับสนุนเงินทุนแก่เกษตรกร (รวมชาวประมง) ในอัตราดอกเบี้ยต่ำตามนโยบายรัฐบาล เน้นการทำงานแบบหุ้นส่วนหรือผู้สนับสนุนมิใช่แบบธนาคาร โดยเปลี่ยนการประเมินผลการทำงานของ ธกส. เป็นเน้นผลผลิตและรายได้ของเกษตรกรแทนผลกำไรของธนาคาร
- ลดต้นทุนเกษตรกร ช่วยค่าเก็บเกี่ยวไร่ละ 2,000 บาท ไม่เกิน 5 ไร่ต่อครัวเรือน วงเงินงบประมาณปีละ 6,000 ล้านบาท
- รัฐสนับสนุนการแปรรูปสินค้าเกษตร ให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค้าของผลผลิตการเกษตร
- รัฐสนับสนุนการทำการตลาดขายตรงให้เกษตรกร ผ่านระบบ application ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง